วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555


ดนตรีพื้นเมืองอีสาน

    • พิณ พิณพื้นเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีชื่อเรียกแตกต่างกัน เช่น ซุง หมากจับปี่ หมากต้องโต่ง และหมากตับแต่ง มีสายตั้งแต่ 2 - 4 สาย ชนิดที่มี 4 สาย ก็คล้ายกับซึงของภาคเหนือ แต่ปลายกะโหลกพิณป้านกว่า พิณพื้นเมืองภาคนี้ ทำด้วยไม้เนื้อแข็งประดิษฐ์ขึ้นอย่างง่าย ๆ ไม่สู้จะประณีตนัก ใช่เล่นเดี่ยว หรือเล่นร่วมกับวงแคน และโปงลาง
     










     
               เต้าพิณ มีความกว้างไม่น้อยกว่า นิ้ว ตามยาวจากกล่องเสียงหรือเต้าพิณถึงหย่อง 14 นิ้ว หรือจากหย่องสุดท้ายพาดสายไปถึงหย่องหน้าประมาณ 22 นิ้ว เจาะร่องสำหรับใส่ลูกบิดประมาณ นิ้ว ขั้น(เฟรทมีขนาดพอเหมาะไม่สั้นหรือยาวเกินไป ซึ่งจะทำให้ผู้ฝึกหัดใหม่สามารถกดนิ้วได้สะดวก
     
     
    ส่วนประกอบของพิณ

     
     
     
    1.    ลูกบิด ปัจจุบันลูกบิดที่ใช้มีอยู่ ชนิด คือ
                    1.1 ลูกบิดไม้ มีลักษณะคล้ายกับลูกบิดซอด้วง ซออู้ ในเครื่องดนตรีไทย
                    1.2 ลูกบิดกีต้าร์ ใช้ลูกบิดกีต้าร์แทนเพื่อความคงทน และสะดวกในการใช้งาน
    2.    สายพิณ ในอดีตใช้สายเบรครถจักรยานเส้นเล็กๆ แต่สายพิณ ในปัจจุบันนิยมใช้สายกีต้าร์ไฟฟ้า 
    3.    คอนแทรกไฟฟ้า ในกรณีที่พิณเป็นพิณไฟฟ้า คอนแทรก (contact) เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญมาก        เพราะเปรียบเสมือนไมโครโฟน
    4.    หย่องพิณ นิยมใช้หย่องที่ทำจากไม้เนื้อแข็ง 
    5.    ขั้นพิณ (fret) ใช้ติวไม้ไผ่ติดที่คอพิณ หรือ ลวดทองเหลือง ติด
     
  • ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น